Support
settasit
084-163-5995
Your shopping cart
View cart
Your cart is empty!

Green standard ในเฟอร์นิเจอร์ ใครกำหนด???

mai_ie1982@hotmail.com | 09-07-2012 | View 7701 | Comment 0

 เราอ่านเรื่อง VOCs มากันมากแล้ว ทั้งจากเรื่อง Indoor Air Quality เรื่องกาวที่อยู่ในไม้อัด

วันนี้เราดูกันหน่อยว่า มาตรฐานความปลอดภัย หรือ green standard ที่เราใช้กันในวงการไม้เฟอร์นิเจอร์ มีอะไรกันบ้าง

เรื่องมาตรฐาน Voc ทุกวันนี้ ในบ้านเราถ้าเป็นพวกเฟอร์นิเจอร์ particle board, MDF ก็จะยึดมาตรฐานเดียวกับทางยุโรป คือใช้ค่า Emission เช่น E0, E1, E2 เหตุผลที่ค่า E ใช้กันแพร่หลายและคนเข้าใจกัน เพราะยุโรปเป็นทวีปแรกที่ตื่นตัวในเรื่องนี้ และได้กำหนดมาตรฐานเหล่านี้ขึ้นมาให้กับบริษัทที่ผลิตเฟอร์นิเจอร์และสินค้าอื่นๆ ที่ต้องการจะขายสินค้าในยุโรป จะต้องได้มาตรฐานตามที่เขากำหนดมา แต่เข้าใจว่ามาตรฐานค่าการปล่อย Voc ที่ใช้กับเฟอร์นิเจอร์ มีอยู่ 3 ค่ายใหญ่ๆคือ

European formaldehyde emission standards ของทางยุโรป

• สำหรับ E2 ในบ้านเรายังพบได้ตามร้านขายเฟอร์นิเจอร์ราคาถูกมากๆ ตามข้างทาง แต่ถ้าเป็นที่เมืองนอก เฟอร์นิเจอร์หรือไม้ที่ได้แค่ E2 จะถือว่าปล่อย formaldehyde ในระดับที่เป็นอันตรายกับผู้ใช้แล้ว ไม่อนุญาตให้นำเข้าไปขายแล้ว

• E1 เป็นมาตรฐานทั่วไปสำหรับพื้นไม้และเฟอร์นิเจอร์ เริ่มใช้กันมาหลายปีแล้ว กำหนดไว้เลยว่า ไม้ที่จะผ่าน E1 ได้จะมีสาร formaldehyde ได้ไม่เกิน 0.75 ppm

• E0 จะเป็นเวอร์ชั้นที่ upgrade ขึ้นมาจาก E1 โดยไม้ที่จะผ่านมาตรฐาน E0 ได้จะมีสาร formaldehyde ได้ไม่เกิน 0.07ppm หรือน้อยกว่านั้น 
• Super E0 ไม่พบ formaldehyde อยู่เลย อันนี้ถึงจะเรียกว่า ปลอดสารพิษของจริง

JIS/JAS เป็นมาตรฐานของทางญี่ปุ่น แบ่งเป็น 4 ระดับ 
• F* กำหนดไว้ว่าจะมี formaldehyde ได้เกิน 0.12 mg/m2h แล้วก็ถูกยกเลิกในประเทศญี่ปุ่นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 
• F** กำหนดว่า มี formaldehyde ได้ไม่เกิน 0.12 mg/m2h 
• F*** กำหนดว่า มี formaldehyde ได้ไม่เกิน 0.005 mg/m2h 
• F**** เป็นมาตรฐานที่ปลอดภัยสูงสุดที่ญี่ปุ่นมี คือ ต้องมีFormaldehyde ต่ำกว่า 0.005 mg/m2h

CARB California Air Resource Board ข้ามมาฝั่งอเมริกาบ้าง ฝั่งนี้ก็มีมาตราฐานใช้เองเหมือนกัน แบ่งมาตรฐานเป็น 2 เกรด

• CARB Phase1 มี formaldehyde ได้เท่ากับหรือน้อยกว่า 0.08 ppm 
• CARB Phase2 มี formaldehyde ไม่เกิน0.05 ppm

เพราะฉะนั้นแล้ว เฟอร์นิเจอร์หรือไม้ที่ได้ E0 หรือเทียบเท่า ก็ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ Eco-friendly ตัวจริง ปลอดภัยกว่า และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่ามาตรฐาน E1 แต่ก็ยังถือว่ามีสารพิษระเหยออกมาแต่ในปริมาณที่น้อยมาก ส่วนไม้ที่ได้แค่มาตรฐาน E2 จะเป็นตัวที่ปล่อยสารพิษที่เป็นอันตรายออกมามากกว่าและไม่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม แล้วก็ควรจะหมดไปจากบ้านเราได้แล้ว ซึ่งกว่าที่บริษัทผู้ผลิตไม้หรือส่งออกจะได้มาตรฐานต่างๆ เหล่านี้ ก็ต้องผ่านการทดสอบและรับรองจากองค์กรที่เกี่ยวข้องเสียก่อน

 

ตัวเลขค่ามาตรฐานที่เราหยิบมาให้ดูข้างบนนี้ เป็นค่าที่ใช้วัดเฉพาะในกลุ่มของไม้เฟอร์นิเจอร์เท่านั้น เพราะจริงๆ แล้วสารพิษที่นักวิจัยเขาจัดกลุ่มรวมหมู่ให้อยู่ใน VOCs มีอยู่กว่า 500 ชนิด แล้วใน 500กว่าชนิดนี้ก็เป็นสารพิษที่พบได้ในวัสดุก่อสร้าง วัสดุตกแต่ง ข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านทั้งนั้น เรื่องตัวเลขหรือค่ามาตรฐานที่ใช้วัด VOCs ก็เลยไม่ได้จำกัดว่าวัดจาก formaldehyde เท่านั้น

 

 

เข้าใจว่าถ้าจะวัดค่าความเป็น VOCs ในเฟอร์นิเจอร์ก็จะใช้ formaldehyde เป็นตัววัด แต่ถ้าเป็นสี ก็จะใช้สารพิษอื่นๆ ที่มีอยู่ในสีเป็นตัววัด เช่น Chromium, Cadmium, Tin, Arenic Radium โดยเฉพาะสูตร oil-based ที่จะมีส่วนผสมของ Solvent โลหะหนัก Titanium dioxide , benzene, formaldehyde, toluene, และ xylene หรือสารระเหยต่างๆ เท่าที่ทราบคร่าวๆ มาตรฐานความปลอดภัยของสีมีอยู่ 2 มาตรฐานด้วยกัน ซึ่งเป็นของอเมริกาทั้งคู่ คือ

Green Seal Standard มาตรฐานค่ายนี้เข้มข้นมาก สีที่จะได้มาตรฐานของ Green Seal Standard ได้จะมีปริมาณของ VOC sได้ไม่เกิน 50g/l เท่านั้น

EPA (Environment Protection Agency) จะเข้มน้อยกว่า อนุญาตให้มี VOCs ในสีได้ไม่เกิน 250g/l

ส่วนบ้านเราเอง มีการกำหนดมาตรฐานของสีทาบ้านเป็นของตัวเองแล้ว
มอก. ของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่กำหนดให้สีทาบ้านต้องไม่มีส่วนผสมของสารปรอท สารตะกั่ว และ formaldehyde และต้องมีค่า VOCs ต่ำกว่า 50g/l

แต่เข้าใจว่าในตลาดบ้านเราก็ยังคงมีสีที่ไม่ได้มาตรฐานวางขายอยู่ ส่วนสี Low-VOCs ก็ยังมีการพัฒนาต่อ จนได้สีปลอดสารพิษหรือ (Zero-VOCs) ที่มีค่า VOCs เป็นศูนย์ หรือสีที่มีค่า VOC sต่ำกว่า 5g/l ซึ่งถือว่ามี VOCs ต่ำกว่าที่ทาง EPA กำหนดไว้เสียอีก ถ้าสนใจเรื่องสี อ่านเพิ่มเติมได้ที่ เลือกสีทาบ้านให้ปลอดภัยกับสุขภาพ

รู้กันอย่างนี้แล้ว เวลาซื้อสินค้าก็อย่าลืมศึกษากันก่อนว่าสินค้าที่เราซื้อได้รับมาตรฐานกรีน อะไรบ้างหรือเปล่า การสนับสนุนสินค้าเหล่านี้ นอกจากจะปลอดภัยกับเราและครอบครัวที่อาศัยอยู่ในบ้านแล้ว ยังปลอดภัยกับพนักงานและคนงานในโรงงานที่ต้องอยู่กับสินค้าที่ในระยะที่ใกล้ชิดทุกวันอีกด้วย

ที่มา : ขอขอบคุณภาพและบทความดีๆ จาก http://community.akanek.com/

Comment

Date: Sun May 05 19:32:30 ICT 2024

Comment
All Comments: 0 Pages: 1/0
Tel: 084-163-5995| Email: mai_ie1982@hotmail.com